งานตรวจสอบและรับรองความปลอดภัย ระบบความเย็น
ระบบทำความเย็น เป็นอีกหนึ่งงานบริการ ที่เกี่ยวข้องกับ ความดัน และ อุณหภูมิ ซื่ง บริษัท พีเอส บิลดิ้งเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เราเป็นทีมงานที่เมีความชำนาญด้านการตรวจสอบระบยทำความเย็น เราจึงได้รับความไว้ใจจากลูกค้า ให้เราได้ทำการตรวจสอบระบบทำความเย็น ทั้งอาคาร โรงงานต่างๆ มาอย่างต่อเนื่องโดยตลอด
การตรวจสอบความปลอดภัยของระบบทำความเย็น
การตรวจสอบอุปกรณ์ทำความเย็นของระบบทำความเย็น เพื่อรักษาสภาพการทำงานของอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และป้องกันอันตรายที่อาจส่งผลต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน ภายในอาคาร โรงงาน ที่เกิดจากการรั่วไหลของสารทำความเย็นที่มีสารแอมโมเนีย ซึ่งในเชิงวิศวกรรมสามารถตรวจสอบความปลอดภัยของระบบทำความเย็นได้
กฎกระทรวง กำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบทำความเย็นที่ใช้แอมโมเนียเป็นสารทำความเย็นในโรงงาน พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 11 เม.ย. 2554 ดังนี้
อุปกรณ์ในการทำความเย็น หมายถึง คอมเพรสเซอร์ ต้องติดตั้งวาล์วสวิทช์ตัดความดันและเกจวัดเเรงดันทุกเครื่อง
อุปกรณ์ระบายความดัน หมายถึง วาล์วนิรภัยหรือชอบเรียกกันว่า safety valve ต้องติดตั้งทุกตัวที่เห็นว่าเป็นภาชนะรับแรงดัน
อาคารสถานที่ ต้องมีการระบายในห้องให้หมดภายใน 20 นาที
บุคลากร ต้องมีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับระบบทำความเย็น
ผู้ประกอบกิจการต้องจัดให้มีวิศวกรตรวจสอบที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของพนักงานและสถานประกอบการ
ประเภทโรงงานอุตสาหกรรมที่จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิด จากการประกอบกิจการโรงงาน
ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เรื่อง มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการดำเนินงาน
โรงงานของท่านเข้าข่ายหรือไม่ ?
ทะเบียนใบอนุญาตโรงงาน หรือ รง.4. จะต้องเป็นห้องเย็นที่มีเลขทะเบียนลำดับที่
92 เช่น 3-92-4/42, ศ3-092(00)-006/33 หรือ ศ3-92-1/38ฉช. เป็นต้น กฎหมาย-
กำหนดขนาดของโรงงานห้องเย็น ที่มีเครื่องจักรตั้งแต่ 50 แรงม้า หรือคนงาน 50
คนขึ้นไป หรือโรงงานทุกขนาดที่มีการแกะล้าง หรือแปรสภาพวัตถุดิบ ลำดับที่ 92 เข้า-
ข่ายต้องทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงทั้งหมด
เข้าข่ายแล้วจะต้องทำอย่างไร ?
ตามระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตรายการประเมินความเสี่ยง และการจัดทำแผนงานบริหาร
จัดการความเสี่ยง พ.ศ. 2543 ดำเนินการโดยกลุ่มบุคลากรของกรมโรงงานอย่างน้อย 3 คน