กษัตริย์โมฮาเมด ที่ 4 แห่งโมร็อคโค ได้เปิดการเดินระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยมีชื่อว่า “Noor 1”
ซึ่งก่อสร้างอยู่ที่ทะเลทรายซาฮารา ตั้งอยู่ใกล้กับเมืองควอซาราเต้ โดยประเทศโมร็อกโคได้ให้ความสำคัญอย่างมากต่อการผลิตพลังงานหมุนเวียน
โดยโรงไฟฟ้าเฟสแรกนี้ ใช้เงินลงทุนกว่า 625 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ โดยมีกำลัการผลิต 160 เมกกะวัตต์ และภายในปี 2018 โครงการนี้จะสามารถผลิตไฟฟ้า
จากพลังงานแสงอาทิตย์จ่ายให้ประชาชนได้มากกว่า 1.1 ล้านคน ซึ่งสามารถลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศได้ประมาณ 760,000 ตันต่อปี
ด้วยการสนับสนุนของ กองทุนเพื่อการลงทุนด้านสภาวะอากาศ “the Climate Investment Funds (CIF)”ซึ่งเมื่อโครงการทั้งหมดเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2020 จะมีกำลังการผลิตถึง 580 เมกกะวัตต์
โมร็อกโค ได้วางแผนในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้ได้ถึง 52% ของความต้องการไฟฟ้าทั้งหมดของประเทศ ภายในปี 2030 โดย 1ใน 3 เป็นการผลิตไฟฟ้าจากพลังแสงอาทิตย์และส่วนที่เหลือเป็นพลังงานลม และพลังงานน้ำ
กระบวนการผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าพลังความร้อนจากแสงอาทิตย์ระบบรางพาราโบลิก..
โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งนี้เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนแบบรวมแสง “concentrating solar power (CSP)”
โดยกระจกที่เป็นจุดรวมแสงจะทำให้ของเหลวซึ่งมีส่วนผสมของน้ำมีความร้อนสูงขึ้นถึงกว่า 400 องศาเซลเซีลส จนของเหลวกลายเป็นไอน้ำที่มีความดันสูงจนสามารถไปขับกังหันไอน้ำและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอีกต่อหนึ่ง โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดนี้มีการลงทุนติดตั้งที่สูงกว่าโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิยต์แบบ แผงโซล่าร์เซลล์มาก แต่โรงไฟฟ้าแบบนี้จะสามารถกักเก็บพลังงานสำหรับใช้งานในช่วงเวลากลางคืนและช่วงที่มีเมฆบดบังได้
ขอบคุณแหล่งข้อมูลดีๆ
http://ienergyguru.com